GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "Far Cry 4"
ด้วยรสชาติและวงจรแห่ง อำนาจ : วิเคราะห์ความเป็น เผด็จการ ในซีรีส์ Far Cry
หมายเหตุ : บทความนี้ จะวิเคราะห์เกมในซีรีส์ Far Cry ภาคหลัก ตั้งแต่ภาคสอง จนถึงภาคหกที่เปิดตัวไปไม่นาน และผู้เขียนขออนุญาตตัดภาค Spin-Off ที่ไม่เกี่ยวข้อง (Blood Dragon, New Dawn) ออก เพื่อคงไว้ซึ่งธีมและสิ่งที่อยากนำเสนอ  หมายเหตุ 2 : บทความนี้เป็นความคิดเห็นและการวิเคราะห์ส่วนตัวของผู้เขียนที่มีต่อระบบ เผด็จการ เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งชี้ขาด หรือข้อเขียนทางวิชาการใดๆ ... ในห้วงเวลาปัจจุบัน ที่องศาทางการเมืองในทุกภูมิภาคของโลกกำลังอยู่ในสภาวะร้อนแรง ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และความแตกต่างระหว่างรุ่นอายุเริ่มปรากฏให้เห็นในเชิงปฏิบัติ เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรากำลังอยู่ในหัวโค้งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง ที่จะทำให้ความเข้าใจแบบเดิมๆ ของเราที่มีต่อรูปแบบการปกครองต้องถูกฉีกทึ้ง และแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ที่จะผลิดอกออกผลในเวลาถัดมา (เช่น การเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษาของประเทศไทย ที่เริ่มแพร่หลายกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ในรูปแบบที่ต่างออกไปจากเดิม) และเช่นเดียวกัน สื่อ ‘วิดีโอเกม’ ก็มีพรรษามากพอที่จะสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ผ่านการนำเสนอในชิ้นงานต่างๆ ทั้งทางด้านภาพ เสียง จนถึงนัยที่แฝงเข้ามา และคงไม่มีเกมไหน ที่พูดถึงการดำรงอยู่ของระบอบ ‘เผด็จการ’ ได้ชัดเจนได้เท่ากับซีรีส์ Far Cry จากค่าย Ubisoft ที่ใช้ตัวร้ายเป็นแกนหลักในการเปิดตัวมานับตั้งแต่ภาคที่ 3 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ความเป็น ‘เผด็จการ’ ในซีรีส์ Far Cry นั้น สัมพันธ์กับหลักของโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่? มันได้นำเสนอครบถ้วนในทุกแง่มุมและธรรมชาติของเผด็จการอย่างไร? เหล่านี้ เป็นคำถามที่น่าสงสัย และน่าหาคำตอบร่วมไปพร้อมกัน ในขณะที่วิดีโอเกมนั้น ยากที่จะออกห่างจาก การเมือง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เพราะบางที ด้วยธรรมชาติของสื่อวิดีโอเกม และการเป็นเกมแนว First Person Shooter ของมัน อาจจะมีสิ่งที่ตกหล่นหายไประหว่างทาง และเมื่อการเปิดตัวภาค 6 ที่ได้นักแสดงระดับแม่เหล็กอย่าง Giancarlo Esposito จากซีรีส์ Breaking Bad มาเป็น ‘เผด็จการ’ คนล่าสุด ก็อาจจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของระบอบเหล่านี้ และผลลัพธ์ที่ตามมาได้ดียิ่งขึ้น [caption id="attachment_63139" align="aligncenter" width="1024"] งานนี้ เขาไม่ได้มาขายไก่ผสมยาไอซ์ แต่มาในบทบาทใหม่ของ จอมเผด็จการ แห่ง Far Cry 6[/caption] เพราะในโลกที่ห่างไกลออกไป จน ‘เสียงตะโกน’ นั้นไม่อาจได้ยิน มันกำลังบ่งบอก และสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้ และคงความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่เราจะทำความเข้าใจกับมัน แม้สักนิด ก็น่าจะเพียงพอ ความหมาย และธรรมชาติของ ‘เผด็จการ’ ถ้ากล่าวกันถึงการปกครองในแบบ ‘เผด็จการ’ แล้วนั้น ภาพจำที่เรามักจะนึกออกโดยสามัญ ก็มักจะเป็นเรื่องของกลุ่มคนคณะปกครองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน และใช้กำลังปราบปรามผู้เห็นต่างไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม (ดังที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กับกลุ่มคณะนักศึกษาที่ออกไปเดินขบวนในเวลานี้…) กระนั้นแล้ว ความเป็น ‘เผด็จการ’ ก็อาจจะต้องแยกย่อยออกไปสองกลุ่ม สองความหมายด้วยกัน -Despotism หรือรูปแบบการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด ที่อำนาจสั่งการ ดำเนินการ และการปกครอง อยู่ภายใต้คนหรือคณะเพียงกลุ่มเดียว มีความชัดเจน ไม่เหลือที่ว่างไว้ให้กับความเห็นต่างใดๆ และมีการสืบทอดอำนาจผ่านสายเลือด เช่นการปกครองของอาณาจักรโรมันก่อนคริสตกาล หรือเกาหลีเหนือ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลคิม ที่สืบทอดระบบจูเชมาตั้งแต่รุ่นปู่จากช่วงสงครามเย็น หรือการปกครองระบอบทหารของอีดี อาร์มิน ‘นักเชือดแห่งอูกันดา’ ที่ปกครองประเทศใต้ความกลัวมาอย่างยาวนานถึงแปดปี ตั้งแต่ปี 1971 ถึง 1979 ก่อนจะถูกโค่นล้มอำนาจลงโดยประชาชน -Dictatorship หรือ Autocracy อำนาจนิยม ระบบนี้จะมีความใกล้เคียงกับ Despotism เพียงแต่จะมีลักษณะที่ซับซ้อนในการถือกำเนิดขึ้นมาของมัน เพราะมันอาจจะเริ่มต้นจากการปฏิวัติโดยประชาชน การเลือกตัวแทนเพียงหนึ่งเดียว และกลายสภาพมาสู่รูปแบบการปกครองอย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับเหล่าชนชั้นสูงหรือ Technocrat ที่ได้ประโยชน์และเอื้อให้ระบอบการปกครองนี้ยังคงดำเนินต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ คิวบาในสมัยของฟุลเจนชิโอ บาติสตา (ก่อนถูกปฏิวัติโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์ของฟิเดล คาสโตรและเช เกวารา...) หรือการขึ้นสู่อำนาจของลัทธินาซีของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าจะมีต้นสายธารที่แตกต่างกัน แต่ความเป็น ‘เผด็จการ’ นั้นก็มีจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นคือการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การกำราบผู้เห็นต่างด้วยกำลังและการโฆษณาชวนเชื่อ ไปจนถึงการปลูกฝังความคิดและการ ‘ปิดประเทศ’ ตัดขาดการติดต่อจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไปจนถึงการวางรากฐานของกลุ่มผู้ร่วมก่อการ สืบทอดอำนาจอย่างเป็นระบบ และวางตัวเองไว้บนเวทีโลกภายใต้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน (เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ยังคงปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โอบรับแนวคิดแบบเสรีทุนนิยมมาเป็นเครื่องมือ เป็นต้น) กล่าวโดยสรุป เราอาจจะสามารถจำแนก ‘วงจรชีวิต’ ของระบอบเผด็จการเอาไว้ได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้ -เกิดความไม่พอใจของประชาชนต่อระบอบการปกครองและผู้ปกครองดั้งเดิม -กลุ่มอำนาจใหม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หรือให้คำสัญญาถึงอนาคตที่ดีกว่าเดิม -กลุ่มอำนาจใหม่ โค่นล้มอำนาจเก่า และตั้งตัวเป็นผู้ปกครอง -กลุ่มอำนาจใหม่ เริ่มออกกฎระเบียบที่กีดกั้นเสรีภาพของประชาชนในทุกมิติ ก่อนจะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของวงจรอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ น่าจะพอช่วยให้เราเห็นภาพและความแตกต่างของระบอบ ‘เผด็จการ’ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ได้โดยสังเขปอย่างหยาบๆ แต่พอเห็นภาพได้ (แม้ว่าในความเป็นจริง มันจะมีหลากหลายปัจจัยและมิติที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแห่งการก่อกำเกิดเผด็จการ...) กระนั้นแล้ว ในเกมซีรีส์ Far Cry มันกำลังเดินอยู่ในเส้นทางของความเป็น ‘เผด็จการ’ แบบใด? นี่คือสิ่งที่น่านำมาวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง  ดินแดนไกลตะโกน ที่ความเป็นเผด็จการเริ่ม ‘สุกงอม’ ถ้าเราหยิบยกเอาแนวคิดของความเป็น ‘เผด็จการ’ เข้ามาจับในความเป็นไปของซีรีส์ Far Cry ตั้งแต่ภาคสองเป็นต้นมานั้น เราอาจจะพบว่า มันกำลังนำเสนอในรูปแบบที่เรียบง่าย ชัดเจน และอยู่ในช่วง ‘ท้าย’ ของวงจรชีวิตเผด็จการ ซึ่งมันเอื้อต่อการประสานเข้ากับเกมการเล่นในแบบโลกเปิดของ First Person Shooter ได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ เพราะแม้จะแตกต่างทางอุดมการณ์เบื้องต้น ไม่ว่าจะตั้งแต่ The Jackal พ่อค้าอาวุธใน Far Cry 2 ที่เป็นนักอนาธิปไตย (Anarchism), กลุ่มกองโจรของ Vaas Montenegro ที่มีลักษณะของ ‘ชนเผ่า’ ใน Far Cry 3 (Tribalism), การเป็นนัก ‘ฉวยโอกาส’ ของ Pagan Min ที่พาตัวเองขึ้นสู่จุดสูงสุดของ Kyrat ใน Far Cry 4 (Opportunism) และการเป็นศาสดาคนคลั่งของหลวงพ่อ Joseph Seed ใน Far Cry 5 (Evangelism) เหล่านี้ ถูกวางเอาไว้ให้เป็นความสุดโต่งในสเปคตรัมของวงจรชีวิตแห่งความเป็นเผด็จการด้วยกันแทบทั้งสิ้น มันผ่านวงจรของการเรียกร้อง มันผ่านการกำราบความเห็นต่างด้วยพละกำลัง มันมีเป้าหมายของการเป็นอำนาจเชิงเดี่ยวหรือ Despotism โดยเนื้อใน ที่ที่การใช้ ‘กำลัง’ จากฝ่ายต่อต้าน คือทางออกสุดท้าย อันเป็นการกลั่นถึงจุดสูงสุดและ ‘สุกงอม’ ตัดทอนวงจรในขั้นตอนอื่นของความเป็นเผด็จการออกไปโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Far Cry 6 ที่พึ่งเปิดตัวไปไม่นานนั้น อยู่ที่มันเป็นครั้งแรก ที่ซีรีส์ Far Cry มีตัวร้าย (Antagonist) อยู่สองคน นั่นคือ Anton Castillo และลูกชายวัยรุ่น Diego Castillo และทาง Ubisoft ก็ได้ออกตัวว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในการบอกเล่าเชิงเนื้อหาครั้งสำคัญ ที่สะท้อนถึงการ ‘ส่งมอบอำนาจ’ ของความเป็นเผด็จการ ภายใต้ฉากหลังอย่างประเทศ Yara ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประเทศอย่างคิวบา และอยู่ในจุดที่ ‘สุกงอม’ ของการต่อต้านและการสู้รบแบบกองโจร แต่มีตัวแปรสำคัญอย่าง Diego Castillo ที่จะขยายมิติของการต่อสู้ครั้งนี้ให้กว้างออกไป ก้าวต่อไปอันลุ่มลึก และการนำเสนอมิติแห่ง ‘เผด็จการ’ ใน Far Cry 6 ‘สิ่งที่เราพอจะบอกได้ในครั้งนี้ (Far Cry 6) คือการเจาะลึกลงไปในส่วนของเนื้อหา ที่ๆ Anton, Diego และ Danny Rojas จะเป็นสามเสาหลักที่ฉายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนของคนสามคนที่มีผลอย่างใหญ่หลวงต่อเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในช่วงท้าย’ Navid Khavari ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหาของ Far Cry 6 กล่าวให้สัมภาษณ์แก่สื่อ ถึงการเลือกใช้ตัวละคร ‘สามเสาหลัก’ และการเพิ่มมิติทางเนื้อหาที่มากยิ่งกว่า Far Cry เกมอื่นๆ ในซีรีส์ที่ผ่านมา เราอาจจะต้องมาคอยติดตามกันต่อไป ว่าเมื่อถึงวันที่ Far Cry 6 ออกวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 นั้น ทีมออกแบบและเนื้อหาของเกม จะสามารถสร้างมิติที่ลุ่มลึกในวงจรและอำนาจของความเป็น ‘เผด็จการ’ ได้มากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับ Trailer เปิดตัวในงาน Ubisoft Forward นั้น ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า พวกเขาค่อนข้างที่จะเข้าใจและ ‘จับอยู่มือ’ ในธีมของความเป็นเผด็จการมากน้อยแค่ไหน และให้ มุมมอง เกี่ยวกับความเป็น เผด็จการ ที่พวกเขาอยากจะนำเสนอที่กว้างกว่าเดิมเพียงใด ‘ประเทศของเรามันก็เหมือนระเบิดมือลูกนี้ เพียงแต่มันประกอบด้วยสองส่วนนั่นคือ ตัวลูก และประชาชน’ Anton Castillo กล่าวกับ Diego Castillo ในขณะที่กลุ่มประชาชนกำลังลุกฮืออยู่หน้าจวนประธานาธิบดี ‘และถ้าลูกไม่จับมันไว้ให้อยู่มือ มันก็เพียงแค่รอเวลา “ระเบิด” เพียงเท่านั้น ลูกเข้าใจที่พ่อพูดรึเปล่า?’ ประโยคสั้นๆ ของ ปรัชญาระเบิดมือ ใน Trailer ของ Far Cry 6 นั้นมีความนัยแฝงเกี่ยวกับหลักของเผด็จการอยู่ในที นั่นเพราะความเป็นเผด็จการ จะไม่มองส่วนประกอบและความหลากหลายอื่นอันใด จะมีเพียง ‘ตัวเอง’ และประชาชน และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนทำตามและอยู่ในระเบียบอย่างไม่มีคำถามหรือข้อสงสัย เคลื่อนไหวเป็นองคาพยพเดียวกัน และแม้ว่าซีรีส์ Far Cry จะนำเสนอเพียง ‘ปลายทาง’ ของวงจรแห่งอำนาจเผด็จการ แต่มันก็ทำให้เราเข้าใจถึงความจริงข้อหนึ่ง ที่ยังคงเป็นสากล ไม่ว่าจะในเวลาไหน หรือภูมิภาคใด … “เพราะอำนาจเผด็จการนั้นไม่เคยคงทน เปราะบาง และจำต้องถูกสลายไปตามระยะเวลา ไม่ว่าจะมีแรงผลักหนุนเสริมหรือการกระทำใดๆ จากภายนอกหรือไม่ก็ตาม…”
10 Aug 2020
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "Far Cry 4"
ด้วยรสชาติและวงจรแห่ง อำนาจ : วิเคราะห์ความเป็น เผด็จการ ในซีรีส์ Far Cry
หมายเหตุ : บทความนี้ จะวิเคราะห์เกมในซีรีส์ Far Cry ภาคหลัก ตั้งแต่ภาคสอง จนถึงภาคหกที่เปิดตัวไปไม่นาน และผู้เขียนขออนุญาตตัดภาค Spin-Off ที่ไม่เกี่ยวข้อง (Blood Dragon, New Dawn) ออก เพื่อคงไว้ซึ่งธีมและสิ่งที่อยากนำเสนอ  หมายเหตุ 2 : บทความนี้เป็นความคิดเห็นและการวิเคราะห์ส่วนตัวของผู้เขียนที่มีต่อระบบ เผด็จการ เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งชี้ขาด หรือข้อเขียนทางวิชาการใดๆ ... ในห้วงเวลาปัจจุบัน ที่องศาทางการเมืองในทุกภูมิภาคของโลกกำลังอยู่ในสภาวะร้อนแรง ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และความแตกต่างระหว่างรุ่นอายุเริ่มปรากฏให้เห็นในเชิงปฏิบัติ เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรากำลังอยู่ในหัวโค้งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง ที่จะทำให้ความเข้าใจแบบเดิมๆ ของเราที่มีต่อรูปแบบการปกครองต้องถูกฉีกทึ้ง และแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ที่จะผลิดอกออกผลในเวลาถัดมา (เช่น การเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษาของประเทศไทย ที่เริ่มแพร่หลายกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ในรูปแบบที่ต่างออกไปจากเดิม) และเช่นเดียวกัน สื่อ ‘วิดีโอเกม’ ก็มีพรรษามากพอที่จะสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ผ่านการนำเสนอในชิ้นงานต่างๆ ทั้งทางด้านภาพ เสียง จนถึงนัยที่แฝงเข้ามา และคงไม่มีเกมไหน ที่พูดถึงการดำรงอยู่ของระบอบ ‘เผด็จการ’ ได้ชัดเจนได้เท่ากับซีรีส์ Far Cry จากค่าย Ubisoft ที่ใช้ตัวร้ายเป็นแกนหลักในการเปิดตัวมานับตั้งแต่ภาคที่ 3 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ความเป็น ‘เผด็จการ’ ในซีรีส์ Far Cry นั้น สัมพันธ์กับหลักของโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่? มันได้นำเสนอครบถ้วนในทุกแง่มุมและธรรมชาติของเผด็จการอย่างไร? เหล่านี้ เป็นคำถามที่น่าสงสัย และน่าหาคำตอบร่วมไปพร้อมกัน ในขณะที่วิดีโอเกมนั้น ยากที่จะออกห่างจาก การเมือง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เพราะบางที ด้วยธรรมชาติของสื่อวิดีโอเกม และการเป็นเกมแนว First Person Shooter ของมัน อาจจะมีสิ่งที่ตกหล่นหายไประหว่างทาง และเมื่อการเปิดตัวภาค 6 ที่ได้นักแสดงระดับแม่เหล็กอย่าง Giancarlo Esposito จากซีรีส์ Breaking Bad มาเป็น ‘เผด็จการ’ คนล่าสุด ก็อาจจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของระบอบเหล่านี้ และผลลัพธ์ที่ตามมาได้ดียิ่งขึ้น [caption id="attachment_63139" align="aligncenter" width="1024"] งานนี้ เขาไม่ได้มาขายไก่ผสมยาไอซ์ แต่มาในบทบาทใหม่ของ จอมเผด็จการ แห่ง Far Cry 6[/caption] เพราะในโลกที่ห่างไกลออกไป จน ‘เสียงตะโกน’ นั้นไม่อาจได้ยิน มันกำลังบ่งบอก และสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้ และคงความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่เราจะทำความเข้าใจกับมัน แม้สักนิด ก็น่าจะเพียงพอ ความหมาย และธรรมชาติของ ‘เผด็จการ’ ถ้ากล่าวกันถึงการปกครองในแบบ ‘เผด็จการ’ แล้วนั้น ภาพจำที่เรามักจะนึกออกโดยสามัญ ก็มักจะเป็นเรื่องของกลุ่มคนคณะปกครองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน และใช้กำลังปราบปรามผู้เห็นต่างไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม (ดังที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กับกลุ่มคณะนักศึกษาที่ออกไปเดินขบวนในเวลานี้…) กระนั้นแล้ว ความเป็น ‘เผด็จการ’ ก็อาจจะต้องแยกย่อยออกไปสองกลุ่ม สองความหมายด้วยกัน -Despotism หรือรูปแบบการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด ที่อำนาจสั่งการ ดำเนินการ และการปกครอง อยู่ภายใต้คนหรือคณะเพียงกลุ่มเดียว มีความชัดเจน ไม่เหลือที่ว่างไว้ให้กับความเห็นต่างใดๆ และมีการสืบทอดอำนาจผ่านสายเลือด เช่นการปกครองของอาณาจักรโรมันก่อนคริสตกาล หรือเกาหลีเหนือ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลคิม ที่สืบทอดระบบจูเชมาตั้งแต่รุ่นปู่จากช่วงสงครามเย็น หรือการปกครองระบอบทหารของอีดี อาร์มิน ‘นักเชือดแห่งอูกันดา’ ที่ปกครองประเทศใต้ความกลัวมาอย่างยาวนานถึงแปดปี ตั้งแต่ปี 1971 ถึง 1979 ก่อนจะถูกโค่นล้มอำนาจลงโดยประชาชน -Dictatorship หรือ Autocracy อำนาจนิยม ระบบนี้จะมีความใกล้เคียงกับ Despotism เพียงแต่จะมีลักษณะที่ซับซ้อนในการถือกำเนิดขึ้นมาของมัน เพราะมันอาจจะเริ่มต้นจากการปฏิวัติโดยประชาชน การเลือกตัวแทนเพียงหนึ่งเดียว และกลายสภาพมาสู่รูปแบบการปกครองอย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับเหล่าชนชั้นสูงหรือ Technocrat ที่ได้ประโยชน์และเอื้อให้ระบอบการปกครองนี้ยังคงดำเนินต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ คิวบาในสมัยของฟุลเจนชิโอ บาติสตา (ก่อนถูกปฏิวัติโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์ของฟิเดล คาสโตรและเช เกวารา...) หรือการขึ้นสู่อำนาจของลัทธินาซีของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าจะมีต้นสายธารที่แตกต่างกัน แต่ความเป็น ‘เผด็จการ’ นั้นก็มีจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นคือการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การกำราบผู้เห็นต่างด้วยกำลังและการโฆษณาชวนเชื่อ ไปจนถึงการปลูกฝังความคิดและการ ‘ปิดประเทศ’ ตัดขาดการติดต่อจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไปจนถึงการวางรากฐานของกลุ่มผู้ร่วมก่อการ สืบทอดอำนาจอย่างเป็นระบบ และวางตัวเองไว้บนเวทีโลกภายใต้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน (เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ยังคงปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โอบรับแนวคิดแบบเสรีทุนนิยมมาเป็นเครื่องมือ เป็นต้น) กล่าวโดยสรุป เราอาจจะสามารถจำแนก ‘วงจรชีวิต’ ของระบอบเผด็จการเอาไว้ได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้ -เกิดความไม่พอใจของประชาชนต่อระบอบการปกครองและผู้ปกครองดั้งเดิม -กลุ่มอำนาจใหม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หรือให้คำสัญญาถึงอนาคตที่ดีกว่าเดิม -กลุ่มอำนาจใหม่ โค่นล้มอำนาจเก่า และตั้งตัวเป็นผู้ปกครอง -กลุ่มอำนาจใหม่ เริ่มออกกฎระเบียบที่กีดกั้นเสรีภาพของประชาชนในทุกมิติ ก่อนจะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของวงจรอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ น่าจะพอช่วยให้เราเห็นภาพและความแตกต่างของระบอบ ‘เผด็จการ’ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ได้โดยสังเขปอย่างหยาบๆ แต่พอเห็นภาพได้ (แม้ว่าในความเป็นจริง มันจะมีหลากหลายปัจจัยและมิติที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแห่งการก่อกำเกิดเผด็จการ...) กระนั้นแล้ว ในเกมซีรีส์ Far Cry มันกำลังเดินอยู่ในเส้นทางของความเป็น ‘เผด็จการ’ แบบใด? นี่คือสิ่งที่น่านำมาวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง  ดินแดนไกลตะโกน ที่ความเป็นเผด็จการเริ่ม ‘สุกงอม’ ถ้าเราหยิบยกเอาแนวคิดของความเป็น ‘เผด็จการ’ เข้ามาจับในความเป็นไปของซีรีส์ Far Cry ตั้งแต่ภาคสองเป็นต้นมานั้น เราอาจจะพบว่า มันกำลังนำเสนอในรูปแบบที่เรียบง่าย ชัดเจน และอยู่ในช่วง ‘ท้าย’ ของวงจรชีวิตเผด็จการ ซึ่งมันเอื้อต่อการประสานเข้ากับเกมการเล่นในแบบโลกเปิดของ First Person Shooter ได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ เพราะแม้จะแตกต่างทางอุดมการณ์เบื้องต้น ไม่ว่าจะตั้งแต่ The Jackal พ่อค้าอาวุธใน Far Cry 2 ที่เป็นนักอนาธิปไตย (Anarchism), กลุ่มกองโจรของ Vaas Montenegro ที่มีลักษณะของ ‘ชนเผ่า’ ใน Far Cry 3 (Tribalism), การเป็นนัก ‘ฉวยโอกาส’ ของ Pagan Min ที่พาตัวเองขึ้นสู่จุดสูงสุดของ Kyrat ใน Far Cry 4 (Opportunism) และการเป็นศาสดาคนคลั่งของหลวงพ่อ Joseph Seed ใน Far Cry 5 (Evangelism) เหล่านี้ ถูกวางเอาไว้ให้เป็นความสุดโต่งในสเปคตรัมของวงจรชีวิตแห่งความเป็นเผด็จการด้วยกันแทบทั้งสิ้น มันผ่านวงจรของการเรียกร้อง มันผ่านการกำราบความเห็นต่างด้วยพละกำลัง มันมีเป้าหมายของการเป็นอำนาจเชิงเดี่ยวหรือ Despotism โดยเนื้อใน ที่ที่การใช้ ‘กำลัง’ จากฝ่ายต่อต้าน คือทางออกสุดท้าย อันเป็นการกลั่นถึงจุดสูงสุดและ ‘สุกงอม’ ตัดทอนวงจรในขั้นตอนอื่นของความเป็นเผด็จการออกไปโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Far Cry 6 ที่พึ่งเปิดตัวไปไม่นานนั้น อยู่ที่มันเป็นครั้งแรก ที่ซีรีส์ Far Cry มีตัวร้าย (Antagonist) อยู่สองคน นั่นคือ Anton Castillo และลูกชายวัยรุ่น Diego Castillo และทาง Ubisoft ก็ได้ออกตัวว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในการบอกเล่าเชิงเนื้อหาครั้งสำคัญ ที่สะท้อนถึงการ ‘ส่งมอบอำนาจ’ ของความเป็นเผด็จการ ภายใต้ฉากหลังอย่างประเทศ Yara ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประเทศอย่างคิวบา และอยู่ในจุดที่ ‘สุกงอม’ ของการต่อต้านและการสู้รบแบบกองโจร แต่มีตัวแปรสำคัญอย่าง Diego Castillo ที่จะขยายมิติของการต่อสู้ครั้งนี้ให้กว้างออกไป ก้าวต่อไปอันลุ่มลึก และการนำเสนอมิติแห่ง ‘เผด็จการ’ ใน Far Cry 6 ‘สิ่งที่เราพอจะบอกได้ในครั้งนี้ (Far Cry 6) คือการเจาะลึกลงไปในส่วนของเนื้อหา ที่ๆ Anton, Diego และ Danny Rojas จะเป็นสามเสาหลักที่ฉายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนของคนสามคนที่มีผลอย่างใหญ่หลวงต่อเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในช่วงท้าย’ Navid Khavari ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหาของ Far Cry 6 กล่าวให้สัมภาษณ์แก่สื่อ ถึงการเลือกใช้ตัวละคร ‘สามเสาหลัก’ และการเพิ่มมิติทางเนื้อหาที่มากยิ่งกว่า Far Cry เกมอื่นๆ ในซีรีส์ที่ผ่านมา เราอาจจะต้องมาคอยติดตามกันต่อไป ว่าเมื่อถึงวันที่ Far Cry 6 ออกวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 นั้น ทีมออกแบบและเนื้อหาของเกม จะสามารถสร้างมิติที่ลุ่มลึกในวงจรและอำนาจของความเป็น ‘เผด็จการ’ ได้มากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับ Trailer เปิดตัวในงาน Ubisoft Forward นั้น ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า พวกเขาค่อนข้างที่จะเข้าใจและ ‘จับอยู่มือ’ ในธีมของความเป็นเผด็จการมากน้อยแค่ไหน และให้ มุมมอง เกี่ยวกับความเป็น เผด็จการ ที่พวกเขาอยากจะนำเสนอที่กว้างกว่าเดิมเพียงใด ‘ประเทศของเรามันก็เหมือนระเบิดมือลูกนี้ เพียงแต่มันประกอบด้วยสองส่วนนั่นคือ ตัวลูก และประชาชน’ Anton Castillo กล่าวกับ Diego Castillo ในขณะที่กลุ่มประชาชนกำลังลุกฮืออยู่หน้าจวนประธานาธิบดี ‘และถ้าลูกไม่จับมันไว้ให้อยู่มือ มันก็เพียงแค่รอเวลา “ระเบิด” เพียงเท่านั้น ลูกเข้าใจที่พ่อพูดรึเปล่า?’ ประโยคสั้นๆ ของ ปรัชญาระเบิดมือ ใน Trailer ของ Far Cry 6 นั้นมีความนัยแฝงเกี่ยวกับหลักของเผด็จการอยู่ในที นั่นเพราะความเป็นเผด็จการ จะไม่มองส่วนประกอบและความหลากหลายอื่นอันใด จะมีเพียง ‘ตัวเอง’ และประชาชน และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนทำตามและอยู่ในระเบียบอย่างไม่มีคำถามหรือข้อสงสัย เคลื่อนไหวเป็นองคาพยพเดียวกัน และแม้ว่าซีรีส์ Far Cry จะนำเสนอเพียง ‘ปลายทาง’ ของวงจรแห่งอำนาจเผด็จการ แต่มันก็ทำให้เราเข้าใจถึงความจริงข้อหนึ่ง ที่ยังคงเป็นสากล ไม่ว่าจะในเวลาไหน หรือภูมิภาคใด … “เพราะอำนาจเผด็จการนั้นไม่เคยคงทน เปราะบาง และจำต้องถูกสลายไปตามระยะเวลา ไม่ว่าจะมีแรงผลักหนุนเสริมหรือการกระทำใดๆ จากภายนอกหรือไม่ก็ตาม…”
10 Aug 2020